สถานที่สำคัญในเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานีดับเพลิงและกู้ภัยสามเสน
พระบรมรูปทรงม้า
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่ที่ด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม เขต ดุสิต กทม หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องยศจอมพลทหารบกประทับบนหลังม้าทรงมีความสูงจากพื้นแท่นที่ม้ายืนถึงยอดพระมาลา 6 ม. กว้าง 2 ม. ยาว 5 ม. ที่ฐานหินอ่อนด้านหน้ามีจารึกบนแผ่นทอง สัมฤทธิ์สรรเสริญพระเกียรติคุณพระปรีชาสามรถพระวิริยะอุตสาหะและพระกรุณาธิคุณ ต่อไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์พระบรมวงศานุวงศ์
พระที่นั่งอนันตสมาคม
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอาคารหินอ่อนแบบเรเนอซองของอิตาลี ทั้งนี้ มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รองรับแขกเมืองและประชุมปรึกษาราชการแผ่นดินพระที่นั่งนี้สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 บนเพดานโดมของพระที่นั่งมีภาพเขียนแฟรส โกที่สวยงามมากเป็นภาพเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 1-6 แห่งราชวงศ์จักรี พระที่นั่งอนันตสมาคมใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีและรัฐพิธีต่างๆและเคยเป็นที่ ประชุมรัฐสภาครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 7 และจัดเป็นที่รับรองและประชุมเอเปค ปัจจุบันเปิดให้ประชาชน เข้าชมได้โดยเสียค่าเข้าชม
พระที่นั่งวิมานเมฆ
ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ในปีพุทธศักราช 2443 และใช้เป็นที่ประทับเป็นเวลาถึง 5 ปพระที่นั่งวิมานเมฆเป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม ประณีต และได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตก
พระที่นั่งอภิเษกดุสิต
ตั้งอยู่ด้านหลังพระที่นั่งอนันตสมาคมในบริเวณเดียวกับพระที่นั่งวิมาน เมฆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้าง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2447 และได้ทิ้งร้างไว้เป็นเวลาหลายปี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณพระที่นั่งอภิเษกดุสิต เพื่อ ปรับแต่งเป็น พิพิธภัณฑ์แสดงผลงานหัตถกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยสมาชิกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชินีนาถเปิดให้ เข้าชมทุก วัน เว้นวันหยุดสำคัญประจำปีตั้งแต่เวล า10.00 น. -16.00 น.
พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระที่นั่งองค์ใหญ่ ในบริเวณสวนดุสิต ขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประทับในเวลาเสด็จฯ ประพาสสวนนี้ พระราชทานนามว่าพระที่นั่งอัมพรสถานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตย์นิมากร(หม่อมราชวงศ์ชิต)เจ้ากรมโยธาธิการเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างใน พ.ศ. 2444พระพระที่นั่งอัมพรสถานมีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบ Classic Navivalสำเร็จบริบูรณ์ในปี พ.ศ.2449 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ณ พระที่นั่งอัมพรสถานระหว่างวันที่ 18 ถึง 22 กพ. 2449 จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ วังสวนดุสิตเป็นประจำจนกระทั่งเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อ 23 ตุลาคม2453
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
อยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เดิมเป็นวัดร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯให้สร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นแทนวัดเก่า2 วัดคือ วัดแหลมกับวัดไทรทอง โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัฒน์ติวงศ์เป็นนายช่างออกแบบและพระยาราชสงคราม(กร หงสกุล)เป็นนายช่างก่อสร้าง สิ่งที่น่าชื่นชมภายในวัดได้แก่พระอุโบสถซึ่งสร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นหินอ่อนที่มา กับการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม
ศูนย์ศิลปาชีพ
โรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522 ภายในบริเวณสวนจิตรลดากรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเรียน
การสอนศิลปาชีพแขนงต่าง ๆ
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้โปรดให้สร้าง สวนจิตรลดาขึ้นบนพื้นที่แห่งหนึ่งในบริเวณระหว่างพระราชวังดุสิตกับในปัจจุบันพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้มีการดัดแปลงพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หลายครั้งเพื่อให้เหมาะกับที่ประทับและยังได้ทรงโปรดให้สร้างศาลาดุสิดาลัยเพื่อทรงใช้เป็นศาลาอเนกประสงค์วังพญาไทริมถนนราชวิถี เพื่อเป็น ที่เสด็จประพาสและประทับแรม
รัฐสภา
เดิมการประชุมรัฐสภา ใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นที่ทำการต่อมาคณะทำงานเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องจัดหาที่ใหม่ ่จึงใช้ที่ดินทางทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งว่างเล่าอยู่ประมาณ 20 ไร่ ปัจจุบันย้ายไปแยกเกียกกาย พื้นที่เดิมรวมเป็นเขตพระราชฐานพระราชวังดุสิต
ทำเนียบรัฐบาล
เดิมเป็นบ้านพักของ พลเอกพระเจ้าพระยาราฆพ มี่ชื่อว่าบ้านนรสิงห์ ตั้งอยู่ตำบล ดุสิตเขตดุสิต กรุงเทพ ฯภายในบริเวณบ้านมีอาคารบางหลังมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงามเป็นที่น่าสนใจของคนไทยและชาวต่างประเทศ ต่อมาในปีพ.ศ. 2484 รัฐบาลได้ซื้อบ้านนรสิงห์ทำเป็นสถานที่รับแขกเมืองโดยคณะผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ใน สมัยนั้นได้ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงิน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และได้มอบบ้านนรสิงห์ ให้ สำนักนายก รัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลโดยให้รัฐบาลใช้เป็นที่รับรองแขกเมืองและใช้เป็นที่ตั้งทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่ พ.ศ.2484 เป็นต้นมา ปัจจุบันทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ราชการที่สำคัญที่สุดในระดับชาติแห่งหนึ่งเพราะเป็นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นที่ทำงานของนายก รัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกับเป็นที่ตั้งของสำนัก งานของ หน่วยงานระดับกรมอีกหลายหน่วยงาน และในบางโอกาสรัฐบาลได้จัดงานเกี่ยวกับพระราชพิธีขึ้นที่นี่ เช่น งานสโมสรสันนิบาต
หอสมุดแห่งชาติ
เดิมริเริ่มตั้งขึ้นในพระบรมมหาราชวังมีชื่อว่า หอสมุด วชิรญานต่อมาก็ขยับขยายมาสร้างบริเวณท่าวาสุกรีในปี พ.ศ. 2509 ให้บริการด้านค้นคว้าวิจัย บริการฉายภาพยนตร์สารคดี และจัดอภิปรายที่ห้องประชุมหอสมุดฯ และนิทรรศการต่างๆ เปิดให้บริการ 09.30 ถึง 19.30 น. ทุกวันเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ รถประจำทางทางสายที่ผ่านสาย 3, 30, 32, 51, 64, ปอ. 6, 505
ท่าวาสุกรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงโปรด เกล้า ฯ ให้พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ ( เจ้าพระยา )จัดการสร้างตำหนักแพและสะพานท่าน้ำที่ปลายถนนพระฉนวนใกล้ประตูน้ำคลองท่อใต้วัดราชาธิวาสซึ่งพระราชทานนามว่า ท่าวาสุกรีครั้นเมื่อการปลูกสร้างเสร็จแล้ว จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการมงคลเปิดสะพานและพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระตำหนักแพท่าวาสุกกรีเมื่อวันที่ 4 มกราคม ร.ศ.128 (2452)ครั้น ได้พระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯนั่งประทับที่ สะพานตรงเรือพระที่นั่งเทียน เป็นการเปิดท่าวาสุกรีปัจจุบันเป็นที่ประทับสำหรับเสด็จทางชลมารคและใช้เก็บเรือพระราชพิธี
พระตำหนักสวนกุหลาบ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักชั่วคราวพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมาที่สวนดุสิตริมถนนใบพร (ถนนอู่ทองในปัจจุบัน) พระราชทานนามที่บริเวณตำหนักนั้นว่าสวนกุหลาบ ถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขยายเขตสวนกุหลาบกว้างขวางขึ้น และสร้างพระตำหนักกับท้องพระโรงเป็นเครื่องถาวร พระราชทานโดยใช้ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ English Renaissance สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมาเสด็จประทับอยู่ ณพระตำหนักสวนกุหลาบจนตลอดพระชนมายุพระตำหนักสวนกุหลาบนี้ในสมัยหนึ่งได้เคยใช้เป็นที่ทำการ รัฐบาลอดีตเป็นที่ทำการของกรมสวัสดิการทหารรกร้าง ใน สมัยรัชกาลที่
พระที่นั่งนงคราญ วังสวนสุนันทา
เดิมคือพระที่นั่งนงคราญสโมสรพระที่นั่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณวังสวนสุนันทา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 พระที่นั่งนี้มิได้อยู่ในเขตตำหนักเจ้านายพระองค์ใดและมิได้เป็นของ พระราชวงศ์ พระองค์หนึ่งพระองค์ใดโดยเฉพาะเป็นพระที่นั่งซึ่งโปรดเกล้าฯให้เป็นท้องพระโรงส่วนกลาง สำหรับพระราชวงศ์พระองค์ใดจะทรงใช้ในการบำเพ็ญพระกุศลจัดงานรื่นเริงก็ทรงจัดขึ้นได้ ณ พระที่นั่งองค์นี้ได้ตามพระอัธยาศัย ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมการปกครอง
พระราชวังสวนสุนันทา
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มาสำเร็จใน สมัยรัชกาลที่ 6 โดยจัดสร้างพระตำหนัก ออกเป็น 2 แบบ 1 คือ ตำหนักที่ประทับตำหนักที่ประทับของของมเหสีและสมเด็จฯ เจ้าฟ้าราชธิดาแบบ 2 คือ ตำหนักที่ประทับของพระราชธิดาเจ้าจอมมารดาหรือเรือนเจ้าจอมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เดิมคือส่วนหนึ่งของพระราชวังสวนสุนันทาต่อมาได้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทาซึ่งนอกจากให้บริการ ทางด้านการศึกษาแล้ว ภายในสถาบันยังจัดศูนย์วัฒนธรรมขึ้นเป็นที่รวบ รวมของภาพสีน้ำวัตถุโบราณเรือนจำลองมากกว่า100 ชิ้น เปิดให้ชมเวลาทำการ จันทร์- ศุกร์ 09.00-16.00 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (วิทยาลัยครูสวนดุสิต)
เดิมคือส่วนหนึ่งของพระราชวังสวนสุนันทาซึ่งนอกจากจะให้บริการทาง ด้นการศึกษา แล้วภายในสถาบันยังจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมขึ้นซึ่งสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ตามวันและเวลาของทางราชการและมหาวิทยาลัยมีการผลิตขนมเค้กหน้าต่างซึ่งมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของกรุงเทพ อีกทั้งยัง เปิดสวนดุสิตเพลซ ซึ่งเป็นโรงแรมชั้น 1 เพื่อให้บริการประชาชนทั่วไปอีกด้วยรถประจำทางสายที่ผ่าน สาย 12, 56, 19
วังปารุสกวัน
วังปารุสกวัน ตั้งอยู่ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระตำหนักใหม่ซึี่งสร้าง โดยรูปแบบสถาปัตกรรมClassic ริมถนนเบญจมาศและถนนคเสื้อในบริเวณสวนดุสิตซึ่งพระราชทานนามว่า พระตำหนักสวนปารุสกวัน (แปลว่าสวนมะปราง) แก่ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพิษณูโลกประชานารถ ในวโรกาสที่ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากประเทศรัสเซียและเสด็จกลับประเทศ ไทยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการพิธีขึ้นที่พระตำหนักใหม่เมื่อวันที่5 เมษายน พ.ศ.2449 เมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินธรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6เสด็จขึ้นเสวยราชย์ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯพระราชทานพระตำหนักสวน จิตรลดาอันเป็นที่ประทับเดิมของพระองค์ อยู่ในบริเวณ สวนปารุสกวันด้านเหนือเพื่อแลกเปลี่ยนกัยที่บริเวณ ท่าวาสุกรีของจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นผู้อำนวยการจัดการซ่อมแซมวังปารุสฯและพระตำหนักพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเมื่อ พ.ศ.2454 ประตูโดยรอบกำแพงวังให้ติดตราจักรและตะบองอันเป็นตราประจำพระองค์จอมพล