น้ำเป็นสารดับเพลิงที่ใช้มานานมาก แต่ที่สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็คือ ปริมาณการใช้น้ำต้องสัมพันธ์กับไฟ ไฟมากน้ำมาก ไฟน้อยน้ำน้อย แต่จากผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือทรัพย์สินของประชาชนอาจต้องได้รับความเสียหาย แต่ก็หลีกเลี่ยงได้ยาก ดับเพลิงยุคใหม่จึงต้องคิดวิธีที่จะทำอย่างไรใช้น้ำน้อยที่สุดแต่ได้ประสิทธิภาพในการดับเพลิงสูงสุด
คุณสมบัติของน้ำ สามารถปิดกั้นอากาศด้วยไอน้ำ น้ำสามารถดูดกลืนความร้อน และน้ำสามารถทำให้ก๊าซเชื้อเพลิงน้อยลงหรือหนุดการคายไอนำเอาไอเชื้อเพลิงออกไปจากคุณสมบัติของน้ำทำให้องค์ประกอบของไฟไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์ เราจึงสามารถประยุกต์ใช้น้ำดับไฟโดยเปลี่ยนสภาพน้ำให้กลายเป็นไอและขยายตัว ลดอุณภูมิชั้นความร้อนให้ต่ำลง และควบคุมก๊าซที่ลุกไหม้และทำให้เปลวไฟหมดไปได้
การขยายตัวของน้ำเมื่อกลายเป็นไอ
น้ำกลายเป็นไอที่อุณภูมิ 100 องศา C มีอัตราส่วน 1700:1 การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็คือการใช้น้ำควบคุมไฟให้เหมาะสมกับความรุนแรงของไฟ การใชน้ำเพื่อลดอุณภูมิลงมาให้อยู่ในแนวกลางทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ตัวเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในการเข้าผจญเพลิง เพราะเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาจได้รับอันตรายจากไอน้ำ และยังช่วยให้สามารถมองเห็นจุดต้นเพลิง
การปรับหัวฉีดเพื่อดับไฟ
ขนาดของฝอยน้ำที่เราฉีดออกไปจากปลายหัวฉีดนั้นมีผลต่อการควบคุมไฟโดยตรง ซึ่งก็แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1.ฝอยน้ำขนาดเล็ก small droplets ประโยชน์ของการปรับหัวฉีดแบบฝอยขนาดเล็ก คือใช้ในการควบคุมไฟบริเวณกว้าง ใช้ปิดกั้นเพื่อป้องกันไฟและความร้อนเมื่อเข้าใกล้ ใช้ทดสอบอุณภูมิของไฟ
2.ฝอยน้ำขนาดใหญ่ หรือลำตรง Large droplets ใช้เพื่อการสกัดกั้นไฟและเมื่อต้องการฉีดดับระยะใกล้
การใช้น้ำเพื่อการดับเพลิง
1.ฉีดโดยตรง Direct จุดประสงค์เพื่อใช้น้ำฉีดเข้าไปยังฐานของต้นเพลิงให้ไฟนั้นดับลงด้วยความรวดเร็ว การปรับหัวฉีดก็เพื่อให้เหมาะสมและพอเพียงกับพื้นที่ ระยะทางในการฉีดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและแรงดันของน้ำที่มาจากรถดับเพลิง ผลกระทบ อาจเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินเนื่องจากแรงดันน้ำสูง นำพาเอาอากาศจากภายนอกเข้าไปยังตัวอาคารหรือจุดต้นเพลิงทำให้ไฟนั้นลุกลามถ้าหากการปฏิบัติไม่ถูกต้อง และเพิ่มอันตรายให้กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเอง เพราะอาจเป็นการเติมเชื้อให้ไฟ
2.ฉีดโดยอ้อม Indirect เป็นการฉีดฝอยน้ำในห้องที่เกิดเพลิงไหม้ปิดคลุมกองไฟ การปรับหัวฉีดโดยปรับกึ่งฝอยส่ายหัวฉีดไปมาโดยรอบ เพื่อสร้างไอน้ำจากพื้นผิวที่มีความร้อนให้มากที่สุด จุดประสงค์ก็เพื่อให้ไอของเชื้อเพลิงเย็นตัวลง หรือไม้ได้ส่วนผสมที่เหมาะกับอากาศ ทำให้เปลวไฟหมดไปและอุณภูมิก็ลดลงด้วย ระยะของการฉีดก็ตามความเหมาะสมของขนาดเพลิงที่ลุกไหม้ แต่ก็มีข้อเสียคือชั้นของความร้อนในห้องที่เกิดเหตุนั้นจะกดต่ำลงทำให้การมองเห็นลดลง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาจได้รับอันตรายจากไอน้ำ
3.การฉีดแบบฝอยละเอียด Gas cooling เพื่อลดอุณภูมิของไอเชื้อเพลิงให้เย็นตัวลง
เทคนิคการปรับหัวฉีด
1.การปรับหัวฉีดเป็นช่วงสั้นๆ Short Pulse จุดประสงค์เพื่อลดอูณภูมิ ทำให้กลุ่มควันจางลง ป้องกันเปลวไฟจากไอก๊าซ โดยปรับหัวฉีแบบกึ่งฝอย เปิดน้ำเต็มที่และปิดอย่างรวดเร็วและฉีดขึ้นด้านบนหัวของตวเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเอง
2.การปรับหัวฉีดเป็นช่วงยาว Long pulse จุดประสงค์เพื่อเปิดทางสำหรับห้องที่มีขนาดใหญ่ การฉีดคล้ายกับแบบแรกคือปรับแบบกึ่งฝอยเปิดน้ำเต็มที่ 2-3 วินาที และปิดอย่างรวดเร็ว ฉีดไปด้านหน้าผ่านกลุ่มควันไปยังผนัง เพดาน หรือเปลวไฟ
3.การปรับหัวฉีดแบบลำตรง Penciling
จุดประสงค์เพื่อลดอุณภูมิและดับสิ่งติดไฟต่างๆ ป้องกันการคายไอของเชื้อเพลิง โดยปรับน้ำเป็นลำตรงปลายแหลมเปิดน้ำเต็มที่เป็นจังหวะ ให้เป็นฝอยน้ำเม็ดใหญ่กระทบกับผิวของวัตถุเชื้อเพลิง
4.การปรับหัวฉีดแบบระบาย Painting เป็นการฉีดน้ำป้องกันคายไอของเชื้อเพลิงด้วยน้ำบางๆ โดยฉีดเป็นลำตรงใช้น้ำปริมาณน้อยที่สุดไม่ให้เกิดก๊าซจาการเผาไหม้
การตรวจสอบอุณภูมิเผาไหม้ด้วยหัวฉีด Temperature Check
เพื่อให้ทราบถึงอุณภูมิของการลุกไหม้โดยปรับหัวฉีดกว้างประมาณ 20 องศา ฉีดน้ำไปยังเพดานห้องหากไม่มีน้ำหยดลงมาแสดงว่าอุณภูมิสูงมาก การตรวจสอบที่ถูกต้องแม่นยำจะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะอยู่กับที่ เดินหน้าต่อ หรือถอยหลังดี