มีเหตุเพลิงไหม้ สาธารณภัย โทร สายด่วน.199 ดับเพลิงและกู้ภัย ตลอด 24 ชั่วโมง
สาเหตุของไฟไหม้บ้าน
สาเหตุของไฟไหม้บ้าน

สาเหตุของไฟไหม้บ้าน


สาเหตุของไฟคืออะไร?

มีหลายสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดเพลิงไหม้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพลิงไหม้มักเป็นผลมาจากความประมาทเลินเล่อโดยไม่ได้ตั้งใจ พฤติกรรมที่ขาดความรับผิดชอบ หรือความบกพร่องของผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยี บางครั้งหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะอาจเกิดจาก “การกระทำของธรรมชาติ” เช่น ฟ้าผ่า

สาเหตุหลักของไฟไหม้บ้าน

สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (NFPA) ได้ระบุสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดหลายประการของการเกิดไฟไหม้บ้าน ซึ่งรวมถึงสิ่งต่อไปนี้

1. เครื่องใช้และอุปกรณ์

เครื่องใช้อุปกรณ์ใดๆ ที่สร้างความร้อน (เตารีด เครื่องอบผ้า เครื่องทำความร้อน) หรือทำให้ร้อนขึ้นเมื่อใช้เป็นเวลานาน (คอมพิวเตอร์ พัดลม) อาจเกิดไฟไหม้ได้  การอุ่นอาหารที่ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีใครดูแลมักเป็นสาเหตุของไฟไหม้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

2. จุดเทียน

จุดธูปเทียนบูชาพระเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยเช่นกัน เนื่องจากหลังจุดธูปเทียนทิ้งไว้แล้วไม่ได้ดับ

3. อุปกรณ์ตกแต่งชั่วคราว

หากมีเทศกาล งานบุญ งานฉลอง ก็มักจะมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าพวกไฟกระพริบไฟประดับ หรือการติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราวก็อาจมีการติดไฟได้

4. ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ค่อยดี ชำรุดในบ้าน  วงจรที่เชื่อมต่อไม่ดี, สายหลวม, การต่อสายดินที่ไม่เหมาะสม  ก็เป็นอันตรายต่อเจ้าของบ้านเช่นกัน

5. สูบบุหรี่

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดไฟไหม้บ้านคือผลที่ตามมาของนิสัยการสูบบุหรี่โดยประมาท ผู้คนบางครั้งผล็อยหลับไปขณะสูบบุหรี่ การทำเช่นนี้ พวกเขาสามารถวางบนเตียง เก้าอี้ หรือโซฟา  อีกอย่างหนึ่งคือการทิ้งก้นบุหรี่ที่ยังร้อนอยู่ลงในถังขยะที่มีวัสดุหลายชนิดรวมกันอยู่

6. เคมีภัณฑ์และแก็ส

ไฟไหม้ในบ้านบางครั้งก็เกิดจากการประกอบอาหารจากแก็ส หากมีการรั่วไหลเมื่อเกิดมีประกายไฟเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ติดไฟได้ สารเคมีในครัวเรือนที่มีการเก็บรักษาไม่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดการเผาไหม้ได้

7. ฟ้าผ่า

ฟ้าผ่ามักเกิดขึ้นในช่วงฝนฟ้าคนอง พายุเข้า แต่ก็เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ยากจะหลีกเลี่ยง

8. เด็ก

เด็กเล็กที่เล่นไฟหรือไม้ขีดไฟในบ้านเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเกิดไฟไหม้บ้าน เด็กโตที่รู้ว่าไฟทำอะไรได้บ้าง และแค่ต้องการดูว่าเกิดอะไรขึ้น ก็อันตรายพอๆ กัน แม้ว่าอาจไม่มีทางที่จะระงับความอยากรู้อยากเห็นของพวกเขาได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นไปได้ที่จะบรรเทาภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้โดยการพูดคุยกับเด็ก ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ประมาท

9. เตาถ่านย่าง

บางคร้งก็เกิดการกระเด็นของถ่านที่เป็นเชื้อเพลิง หรือหลังจากใช้งานแล้วไม่ดับไฟที่เหลือในเตาปล่อยเตาทิ้งไว้


สรุป

ไฟไหม้เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน และที่ผ่านมาก็พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทและมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆเช่น ประมาทในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าการใช้เชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและแก็ส หรือโดยเหตุจากธรรมชาติ ล้วนแต่สามารถป้องกันได้ทั้งสิ้นการเผาขยะและหญ้าแห้ง บ่อยครั้งที่สาเหตุเพลิงไหม้ที่สร้างความสูญเสียใหญ่หลวงเกิดจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ อย่างการเผาขยะและหญ้าแห้งดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม ไม่ควรเผาขยะในที่ที่มีลมแรงและต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด  ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นสาเหตุอันดับต้นๆของเพลิงไหม้ เนื่องจากสภาพการใช้งานนาน ขาดการดูแลบำรุงรักษา ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดจงจร หรือการใช้เครื่องใช้เครื่องไฟฟ้าต่างๆ

 

วิธีป้องกันไฟไหม้

ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้อย่างเด็ดขาดและเสมอไปเพราะอัคคีภัยนั้นเปรียบเสมือน “ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ” และความประมาทเลินเล่อของผู้ทำงานหรือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนมาก ย่อมจะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงเห็นควรที่จะต้องช่วยกันป้องกันอัคคีภัยในการป้องกันอัคคีภัยจะมีสิ่งที่ควรปฏิบัติเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างอีกมากมาย แต่ก็ มีหลักการง่าย ๆ ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่ 5 ประการ คือ

1. การจัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่น การขจัดสิ่งรกรุงรังภายในอาคาร บ้านเรือนให้หมดไปโดยการเก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน ซึ่งเป็นบันได ขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย

 

 

2. การตรวจตราซ่อมบำรุงบรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และความปลอดภัยก็จะป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย ได้ดียิ่งขึ้น
3. อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามที่จิตสำนึกควรพึงระวัง เช่น

3.1) อย่าปล่อยให้เด็กเล่นไฟ
3.2) อย่าจุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้
3.3) อย่าวางก้นบุหรี่ที่ขอบจานที่เขี่ยบุหรี่ หรือขยี้ดับไม่หมด ทำให้พลัดตกจากจาน หรือ สูบบุหรี่บนที่นอน
3.4) อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้วเสียบปลั๊กจนน้ำแห้ง
3.5) อย่าเปิดพัดลมแล้วไม่ปิดปล่อยให้หมุนค้างคืนค้างวัน
3.6) อาจมีเครื่องอำนวยความสุขอย่างอื่น เช่น เปิดโทรทัศน์ แล้วลืมปิด
3.7) วางเครื่องไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ติดฝาผนัง ความร้อนระบายออกไม่ได้
3.8) อย่าหมกเศษผ้าขี้ริ้ว วางไม้กวาดดอกหญ้า หรือซุกเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็น บางครั้ง สัตว์เลี้ยงในอาคารก็คาบเศษสิ่งไม้ใช้ไปสะสมไว้หลังตู้เย็นที่มีไออุ่นอาจเกิดการคุไหม้ขึ้น
3.9) อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือปลอมแปลงคุณภาพ เช่น บาลาสต์ที่ใช้กับ หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนท์เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้อาจร้อน
และลุกไหม้ส่วนของอาคารที่ติดอยู่
3.10) อย่าจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังไม่ดับเกิดลมพัด คุขึ้นมาอีก มีลูกไฟปลิวไปจุดติดบริเวณใกล้เคียงได้
3.11) อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้
3.12) อย่าทิ้งอาคารบ้านเรือนหรือคนชราแลเด็กไว้โดยไม่มีผู้ดูแล
3.13) อย่าสูบบุหรี่ขณะเติมน้ำมันรถ
3.14) ดูแลการหุงต้มเมื่อเสร็จการหุงต้มแล้วให้ดับไฟถ้าใช้เตาแก๊สต้องปิดวาล์วเตาแก๊สและถังแก๊สให้เรียบร้อย
3.15) เครื่องเขียนแบบพิมพ์บางชนิดไวไฟ เช่น กระดาษไข ยาลบกระดาษไข อาจเป็นสื่อสะพานไฟทำให้เกิดอัคคีภัยติดต่อคุกคามได้
3.16) ดีดีที สเปรย์ฉีดผม ฉีดใกล้ไฟ จะติดไฟและระเบิด
3.17) เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในคืนฝนตกหนัก เพราะสายไฟที่เก่าเปื่อย เมื่อวางทับอยู่กับฝ้าเพดาน ไม้ผุที่มีความชื้นย่อมเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าขึ้นได้
3.18) เกิดฟ้าผ่าลงที่อาคารขณะมีพายุฝน ถ้าไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้องก็ต้อง เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ได้อย่างแน่นอน
3.19) เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนเกิดรั่ว
3.20) รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุหรือถ่ายเทน้ำมันเบนซิน เกิดการรั่ว ไหลก็น่าเกิด อัคคีภัยขึ้นได้
3.21) ในสถานที่บางแห่งมีการเก็บรักษาเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย อาจ คุไหม้ขึ้นได้เอง สารเคมีบางชนิด เช่น สีน้ำมันและ น้ำมันลินสีด เมื่อคลุกเคล้ากับเศษผ้าวางทิ้งไว้อาจคุไหม้ขึ้นเอง ในห้องทดลองเคมีของโรงเรียน เคยมีเหตุ เกิดจากขวดบรรจุฟอสฟอรัสเหลือง (ขวด) พลัด ตกลงมา เกิดแตกลุกไหม้ขึ้น
3.22) ซ่อมแซมสถานที่ เช่นการลอกสีด้วยเครื่องพ่นไฟการตัดเชื่อมโลหะด้วยแก๊สหรือไฟฟ้าการทาสีหรือพ่นสีต้องทำด้วยความระมัดระวัง อาจเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นได้
4. ความร่วมมือที่ดี จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงนายตรวจป้องกันอัคคีภัยได้ให้ไว้ และปฏิบัติตามข้อห้ามที่วาง ไว้เพื่อความปลอดภัยจากสถาบันต่างๆ
5. ประการสุดท้าย จะต้องมีน้ำในตุ่มเตรียมไว้สำหรับสาดรดเพื่อให้อาคารเปียกชุ่มก่อนไฟจะมาถึง เตรียมทรายและเครื่องมือดับเพลิงเคมีไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้นต้นและต้องรู้จักการใช้ เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย และระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อเกิด เพลิงไหม้แล้วจะต้องปฏิบัติดังนี้
(1) แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที โทร. 199 หรือสถานีดับเพลิงสถานีตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ
(2) ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ
(3) หากดับเพลิงชั้นต้นไม่ได้ให้เปิดประตูหน้าต่างบ้านและอาคารทุกบานและอุดท่อ ทางต่างๆ ที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าซและควันเพลิงเสียด้วย